... Badminton ...
'' เทคนิค และเคล็ดลับในการเล่นแบดมินตัน ''
![]() |
การแต่งกายในการเล่นแบดมินตัน |
![]() |
ไม้แบดมินตัน |
![]() |
ลูกขนไก่ |
"ประเภทเดี่ยว" จะมีผู้เล่นฝ่ายละ 1 คน ส่วน "ประเภทคู่" นั้นจะแบ่งผู้เล่นออกเป็นฝ่ายละ 2 คน
เทคนิคการจับแร็กเก็ตที่ถูกวิธี
เริ่มต้นด้วยการจับแร็กเก็ตควรจับให้เป็น V Shape การจับไม้ให้ถูกนั้นจะเป็นเบสิคที่สำคัญ
ที่จะทำให้เราตีลูกได้รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นหน้ามือโฟร์แฮนด์
หลังมือแบ็คแฮนด์ ลูกงัด ลูกตบ ลูกดาด ฯลฯ เราก็สามารถที่จะตีได้ทั้งนั้น
วิธีการจับแบบ V คือ ใช้มือซ้ายจับแร็กเก็ตแร้วหันบิดสันไม้ให้ตรงกับแสกหน้า (ดูภาพ)
แล้วยื่นมือขวาไปข้างหน้า ในแบบวิธีการเช็คแฮนด์แบบฝรั่งแล้วใช้ฝ่ามือสวมจับด้ามไม้ ง่ามมือระหว่างหัวแม่มือกับนิ้วชี้จะเป็นรูปตัว V นั่นแหละคือการจับไม้แร็กเก็ตที่ถูกต้อง
![]() |
การจับแร็กเก็ตที่ถูกวิธี |
![]() |
การจับที่ผิด คือจับแบบจับฆ้อน |
การที่เราจับแร็กเก็ตถูกวิธีนั้น ไม่เพียงจะทำให้ตีลูกได้รอบตัวเท่านั้น
แต่ยังจะทำให้เราไม่เกิด อาการปวดข้อศอก หรือหัวไหล่อีกด้วย
ที่มาของแรงตีลูก
เมื่อเราเริ่มตีลูกได้สักพักเราก็จะเริ่มรู้สึกว่าทำไมลูกที่เราตีออกไปนั้น ไม่มีแรงส่งอย่างที่เราคิด
ทั้งที่เราเหวี่ยงแร็กเก็ตอย่างเต็มแรงแต่ทำไมลูกไม่พุ้งไปถึงข้างหลัง เราจะมาหาที่มาของแรงส่งกัน
การตีลูกในกีฬาแบดมินตันนั้นไม่เหมือนกับการตีเทนนิสหรือสคว๊อช เพราะลูกขนไก่นั้นมีน้ำหนัก
เบา การตีลูกขนไก่ให้พุ้งไปข้างหน้าอย่างแรง เราจะต้องอาศัยจังหวะที่สมบูรณ์ผสมผสานกับแรงเหวี่ยง
แหล่งที่มาของแรงตีลูก
1. แรงที่เราถ่ายเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า
2. แรงที่เกิดจากการเหวี่ยงของลำแขน
3. แรงที่เกิดจากการที่่เราตวัดและสะบัดข้อมืออย่างแรง
สังเกตุแขนที่เหยียดตรงและจังหวะการตวัดของข้อมือ
ฟุตเวิร์คกับจังหวะของการตีลูก
การเล่นแบดมินตันเราจะต้องมีการเคลื่อนย้ายตัววิ่งไล่ตีลูกตลอดเวลา ผู้เล่นจะต้องรู้จักการ
วิ่งเข้าออก การประชิดลูกในจังหวะที่ถูกต้อง เคลื่อนย้ายตัวเองไปอยู่ในจุดที่ถูกต้อง ตีลูกได้ถนัด
และสิ้นเปลืองพลังงานของตัวเองให้น้อยที่สุด
ฟุตเวิร์ค หรือจังหวะเท้าสำหรับการเล่นแบดมินต มีความสำคัญมากที่สุด การฟุตเวิร์คที่ดีจะทำ
ให้ การออกตัวสืบเท้าพาตัวพุ้งไปสู้ทิศทางต่างๆ ได้ด้วย คล่องแคล่วว่องไว เพราะหลักการในการเล่น
แบดมินตันที่จะต้องจำให้ขึ้นใจคือ
- จะต้องวิ่งเข้าไปหาลูกเสมอ อย่าทิ้งช่องว่างปล่อยให้ลูกวิ่งเข้ามาหาเรา
- จะต้องพุ้งตัววิ่งเข้าหาลูกให้เร็วที่สุด และตีลูกในระดับที่ลูกอยู่สูงที่สุด
ในเกมการเล่นแบดมินตัน การคาดคะเนเป้าหมายการตีกับวิถีทางการตีลูกของฝ่ายตรงข้าม
จึงจำเป็นต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ บางครั้งยั้งต้องใช้เทคนิคการ "ดักลูก" เข้ามาช่วยอีกด้วย โดยเฉพาะ
การเล่นประเภทคู่จะต้องอาศัยการจับทางของคู่ต่อสู้ให้มากที่สุดเพื่อการตีลูกในระดับบนให้เร็วที่สุด
เท่าที่จะเร็วได้
เป็นฝ่ายตั้งรับ ยิ่งเราตีลูกได้ระดับสูงมากเท่าไหร่ ย่อมทำให้มี "มุมลึก" ของเป้าหมายได้มากเท่านั้น เช่น
การกระโดดตบพร้อมทั้งใช้ข้อมือตวัดตีลูกจิก จะทำให้ลูกสามารถข้ามไปในมุมลึกกว่าการตีแบบธรรมดา
ถ้าทำแบบนี้ได้ จะทำให้คู่ต่อสู้เดาการเล่นเราไม่ถูกต้อง หรือคาดคะเนไม่ออกว่าเราจะส่งลูกไปในลักษณะใด
การตีลูกหลังมือ แบ็คแฮนด์
การตีลูกหลังมือ หรือแบ็คแฮนด์ จะมีแรงตีนั้นมาจาก 2 แหล่งแรกเท่านั้น โดยจะไม่มีแรงโถม
ที่เกิดจากการเปลี่ยนน้ำหนักจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้่า
ในการตีลูกโฟร์แฮนด์ ในขณะที่แร็กเก็ตกระทบสัมผัสลูกขนไก่นั้น แขนของผู้เล่นจะต้องเหยียด
อยู่ในแนวตรงเพื่อให้แรงเหวี่ยงตีลูกทั้ง 3 แหล่งถ่ายไปสู่การปะทะตีลูกอย่างเต็มเหนี่ยวตั้งหน้าแร็กเก็ต
ให้ตรงเพื่อให้เอ็นมีส่วนผลักดันลูกให้พุ้งออกจากแหล่งอย่างเต็มที่อีกแรงหนึ่ง
การตีลูกหลังมือ ผู้เล่นจะต้องไม่ลืมเทคนิคขั้นพื้นฐานดังกล่าวนำมาใช้กับการตีลูกหลังมืออย่าง
เต็มที่เช่นกัน คือขณะที่เหวี่ยงมือนั้น ข้อศอกต้องงอพับเพื่อสร้างวงสวิงในการเหวี่ยงตีลูก แต่ในขณะที่แร็กเก็ตกระทบสัมผัสลูกขนไก่นั้นแขนของผู้เล่นจะต้องเหยียดตรง (ดูภาพประกอบ) เพื่อให้แรงเหวี่ยงที่ตีลูกที่มาจาก 2 แหล่ง ได้ถ่ายไปสู่การปะทะตีลูกหลังมืออบ่างสุดกำลัง ตั้งหน้าแร็กเก็ตให้ตรง ในลักษณะ
เดียวกับการตีลูกหน้ามือ หรือโฟร์แฮนด์
ลูกหลักในเกมแบดมินตัน
ลูกหลักในเกมแบดมินตัน แบ่งออกเป็น 4 จำพวกใหญ่ๆ คือ- ลูกโยน (Lob or Clear)
- ลูกตบ (Smash)
- ลูกดาด (Drive)
- ลูกหยอด (Drop)
ลูกโยน (Lob or Clear) คือ ลูกที่ตีโด่งข้ามไปในระดับสูง และย้อนตกลงมาในมุม 90 องศา
ในแดนตรงข้าม เป็นลูกที่ตีเหนือศรีษะหรืองัดจากด้านล่างก็ได้ ทั้งหน้ามือโฟร์แฮนด์ หลังมือ
แบ็คแฮนด์ ลูกโยนอาจแบ่งออกมาได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
- ลูกโยนหน้ามือ
- ลูกโยนหลังมือ
- ลูกงัดโยน
ลูกโยนหน้ามือ
แรงตีจะเกิดจากการประสานของแรงเหวี่ยง แรงตวัด การสะบัดของลำแขน ข้อมือ จังหวะการ
ฟุตเวิร์คที่ถูกต้องบวกกับการเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า โดยที่แรงตีที่ผ่านแร็กเก็ตไปสัมผัสลูกในช่วงที่ถูกจังหวะ รวมแรงตีผลักดันลูกให้พุ้งโด่งไปยังฝั่งตรงข้าม ตามเป้าหมายที่ต้องการ
ลูกโยนหลังมือ
แรงตีเกิดจาการประสานแรงเหวี่ยงเช่นเดียวกับการตีลูกหน้ามือ แต่การวางฟุตเวิร์คต่างกัน ไม่มีแรง
โถมที่มาจาการเปลี่ยนถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า แรงตีลูกหลังมือเกือบทั้งหมดจึงมาจากแรงเหวี่ยง แรงตวัดและการสะบัดของลำแขน กับข้อมือเท่านั้น ลูกหลังมือนั้นเราจะใช้เป็นลูกแก้ไขมากกว่าลูกที่เราจะใช้บุก
ลูกงัดโยน
ลูกงัด คือการตีลูกโดยช้อนตวัดตีลูกจากด้านล่างสะบัดขึ้นด้านบน เป็นการช้อนตีลูกจากต่ำไปสูง
เป็นลูกที่ไม่ต้องใช้แรงเหวี่ยงตีมากเท่าไหร่ ใช้ข้อมือกระตุกหรือสะบัดลูกลูกก็จะปลิวออกจากแร็กเก็ตอย่างง่ายดาย ส่วนมากจะเ็ป็นลูกที่เข้าประชิดด้านหน้าของสนาม เช่นการเข้ารับลูกหยอดที่ฝ่ายตรงข้าม
หยอดมา หรือลูกตบเป็นต้น
ลูกงัดตีสามารถตีได้ทั้งหน้ามือและหลังมือ เป็นลูกที่ได้รับแรงตีจากการตวัด กระตุก หรือสะบัดของข้อมือมากกว่าแรงตีแหล่งอื่น
![]() |
ลูกงัด โฟร์แฮนด์ |
![]() |
ลูกงัด แบ็คแฮนด์ |
ลูกตบ (Smash)
ลูกตบเป็นลูกที่เด็ดขาดที่ตีจากที่สูงกดลูกลงสู่ที่ต่ำในวิถีตรงที่รุนแรงและรวดเร็วเป็นลูกที่พุ้งเข้าสู้เป้าหมายด้วยความเร็วสูง เป็นลูกที่ใช้บีบคู่ต่อสู้ต้องตกเป็นฝ่ายรับ และมีเวลาจำกัดสำหรับการตีโต้ตอบ
ลูกตบเป็นลูกฆ่าเป็นลูกำทำแต้มที่ได้ผล ถ้ารู้จักใช้อย่างถูกต้อง
การตบลูกนั้น แม้ว่าจะทำให้เรามีโอกาสที่จะทำคะแนนได้ แต่ก็ทำให้เราสูญเสียพลังงานในการ
เล่นไปมากพอสมควร เพราะฉนั้นเราควรที่จะเลือกสถานการณ์ในการตบให้ดีก่อนที่จะตบในแต่ละช็อต ลักษณะของการตบลูกที่ดีนั้นคือ การหาโอกาสตบลูกโดยที่เราสามารถตบลูกได้สูงที่สุดเพราะจะ
ทำให้วิถีของลูกพุ้งลงสู่พื้นได้มากขึ้นรวมถึงโอกาสในการเลือกมุมตบลูก ด้วยเหตุนี้ผู้เล่นส่วนมากหรือแทบจะทุกคนจะใช้วิธีการกระโดดตบเพื่อเพิ่มองศาและโอกาสให้มากขึ้น![]() |
ท่าเตรียมกระโดด |
![]() |
ท่ากระโดดตบลูก |
เป้าหมายของการตบ
1. ตบลูกให้ห่างตัวผู้รับ
2.ตบลูกให้พุ้งเข้าหาตัวผู้รับ
- การตบลูกให้ห่างตัวคู่ต่อสู้มากที่สุด วิธีนี้จะทำให้คู่ต่อสู้ต้องเคลื่อนตัวเพื่อไปรับลูกตบทำให้สมดุล
ของร่างกายเปลี่ยนไป และเสียตำแหน่งในการควบคุมพื้นที่ด้วย ยิ่งถ้าเราตบให้ไกลคู่ต่อสู้มากเท่าไหร่
ก็มีผลทำให้คู่ต่อสู้มีโอกาสที่จะรับลูกกลับมายากมากขึ้นเท่านั้น
- การตบลูกเข้าหาตัวคู่ต่อสู้ การตบวิธีนี้ถือว่าเป็นการตบที่ทำให้คู่ต่อสู้นั้นไม่ทันตั้งตัวเพราะว่าลูกตบ
ที่เข้าหาตัวคู่ต่อสู้นั้นจะเร็วและรุนแรงทำให้มีเวลาน้อยมากที่จะรับลูกได้ รวมทั้งคู้ต่อสู้บางคนไม่ทันได้ตั้งตัวว่าจะโดนตบเข้าหาตัวก้อาจจะเอี้ยวตัวหลบไม่ทัน หรือเปลี่ยนหน้าไม้เพื่อรับลูกไม่ทัน
การตีลูกดาด
การตีลูกดาด เป็นลูกที่พุ้งมาหาผู้เล่นในระดับไหล่หรือศรีษะ หรือสูงเกินกว่าที่จะตีด้านล่าง ดังนั้น
ในการตีลูกดาดนี้มีเป้าหมายให้ลูกพุ้งข้ามตาข่ายกลับไปอย่างรวดเร็ว การบังคับให้ลูกขนไก่มีวิถีเลียด
ดาดกับตาข่ายและขานกับพื้นสนามทำให้คู่แข่งตอบโต้มาได้ลำบากและตกเป็นฝ่ายรับการตี
ความสำคัญของการตีลูกดาด ลูกดาดใช้ในการเล่นประเภทคู่ผสมเป็นส่วนมาก และในประเภทคู่ผสมผู้เล่นก็คือผู้ชาย ลูกดาดเป็นลูกที่ใช้สำหรับการรุกและการป้องกันต้องตีให้เร็วและแม่นยำ
ลูกดาดเป็นลูกที่มาจากแรงเหวี่ยงของแขน ผสมผสานกับแรงตวัดของข้อมือ อาจจะมีแรงโถมของน้ำหนักตัวหรือไม่มีก็ได้ ลูกดาดที่สมบูรณ์ ต้องข้ามตาข่ายไปในวิถีตรง ลูกพุ้งข้ามไปด้วยความเร็วในขณะเดียวกันต้องข้ามไปในวิถีวิ่งเลียดตาข่าย
การฝึกตีลูกดาด ให้ผู้เล่น 2 คน อยู่คนละฝ่ายของสนามตีลูกดาดด้วยการยืนอยู่ประมาณครึ่งสนาม
ตีซ้าย ขวา ข้ามไปมาช้าๆ พยายามให้ลูกวิ่งเลียดข้ามโดยไม่ติดตาข่ายในระยะแรกๆ ให้เพื่อข้ามเลย
ตาข่ายไว้ก่อน เมื่อเกิดความชำนาญ เกิดทักษะจึงค่อยทวีความแรง กับความเร็วมากขึ้น
![]() |
การตีลูกดาด ด้วยการนั่งย่อตี |
การตีลูกดาดด้วยการนั่งย่อตีสวนลูกใช้ได้ผลในประเภทคู่ ถึงกระนั้นก็ไม่ควรใช้บ่อยเพราะในการย่อตัวตีลูกทำให้เรากลับลำตัวได้ช้า บ้างครั้งอาจทำให้พลาดพลั้งหรือเสียการทรงตัว แต่การนั่งย่อตีสวนลูกดาดในจังหวะที่เหมาะสมกลายเป็นวิธีที่ส่งลูกข้ามตาข่ายไปในวิถีที่ฝ่ายตรงข้ามคาดไม่ถึง อาจใช้ในกรณีที่จวนตัวหรือลูกที่พุ้งเข้าหาลำตัว เป็นการแก้ไขพลิกสถานะการณ์จากฝ่ายรับให้เป็นฝ่ายรุกได้
เคล็ดลับในการดูแลรักษาไม้แบดมินตัน
1. ไม่ควรเก็บไม้แบดมินตันไว้ในที่ที่มีแสงตะวันร้อนจัด หรือมีอุณหภูมิตั้งแต่ 40 องค์ศาขึ้นไป เพราะอาจจะมีผลต่อเฟรมของไม้อาจเกิดการโค้งงอได้ เอ็นเสื่อม เอ็นกรอบ2. ไม่ควรเอาสิ่งของที่มีน้ำหนักมากมาวางทับไม้แบดมินตัน
3. หลังเล่นเสร็จควรทำความสะอาดไม้แบดมินตันด้วยผ้าสะอาด ซับบริเวณด้ามจับ หรือบริเวณที่มีเหงื่อ
ไคลไหลเปื่อน
4. ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรลอกแผ่นพลาสติตรงด้ามจับออก เพราะบางคนมีเหงื่อออกมากๆ จะทำให้เหงื่อซึมเข้าตรงด้ามจับ และถ้าเราไม่ทำความสะอาดตรงด้ามจับที่มีการสะสมของเหงื่อไคล เหงื่อไคลก็จะสะสมและจะนำไปสู่การแตกหักของบริเวนด้ามจับได้
5. ขณะที่เอ็นขาดเราควรตัดเอ็นทิ้งทันที เนื่องจากถ้าเราไม่ตัดเส้นเอ็นออกแร้ว จะทำให้เฟรมของไม้บิดเบี้ยวได้
http://goo.gl/maps/jcSxy
ขอบคุณมากค่ะสำหรับเทคนิค กำลังหาอยู่พอดีเลย ^^
ตอบลบอยากเล่นบ้างจังจะได้ลดความอ้วน
ตอบลบเป็นการออกกำลังกายที่สนุกมากๆ ได้ออกกำลังกายในทุกส่วนขอบคุณสำหรับเคล็ดลับนะคะ
ตอบลบเราก็ชอบเล่นแบตเหมือนกัน ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันกันนะคะ
ตอบลบอธิบายได้ละเอียดมากเลย ขอบคุณค่ะ
ตอบลบช่วงนี้กำลังหาวิธีควบคุมน้ำหนักอยู่ น่าเอาไปเล่นมากๆเลย ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆและรูปภาพสวยๆที่มาแบ่งปันกันนะค่ะ
ตอบลบดีมากๆเลยครับมีเทคนิคด้วย
ตอบลบเทคนิคแต่ละท่าสุดยอดเลย
ตอบลบ